ผลสำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์

จากผลสำรวจประชากรในโลกออนไลน์ต่อความคิดเห็นต่อนโยบายก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ในครั้งนี้ ด้วยเครื่องมือ SurveyCan – ระบบบริหารจัดการแบบสอบถามและแบบฟอร์มออนไลน์ (http://www.surveycan.com) นั้น ปรากฎผลดังต่อไปนี้

ข้อมูลการสำรวจระหว่างวันที่ 4 ต.ค. – 25 ต.ค. 2556

กลุ่มตัวอย่าง : 780 ราย จากทั่วประเทศ

วิธีการสำรวจ: แบบ Voluntary Response Sample แบบการใช้การเผยแพร่โพลออนไลน์ SurveyCan

สรุปผลการสำรวจที่สำคัญ

กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ทราบข่าวนโยบายการสร้างเขื่อนแม่วงก์และมีความกังวลต่อการก่อสร้าง

จากคำถามที่ว่า คุณทราบข่าวนโยบายการสร้างเขื่อนแม่วงก์หรือไม่ผลสำรวจ ผลปรากฎว่าร้อยละ 88.1 ตอบว่าทราบ ร้อยละ 8.2 ตอบว่า ไม่ทราบ และ ร้อยละ 3.7 ตอบว่า ไม่แน่ใจ

ส่วนคำถามว่า คุณมีความกังวลต่อโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ หรือไม่ ผลปรากฏว่าร้อยละ 71.4 ตอบว่า กังวล ร้อยละ 21.7 ตอบว่า ไม่กังวล และร้อยละ 6.9 ตอบว่า ไม่แน่ใจ

ประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีความกังวลมากที่สุด

เมื่อถามว่าคุณมีความกังวลต่อประเด็นต่อไปนี้มากน้อยเพียงใด ต่อโครงการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ จากผลสำรวจพบว่าประเด็นที่กลุ่มตัวอย่างมีความกังวลมากที่สุด 3 อันดับแรกได้แก่

ปัญหาการทุจริตคอรัปชั่นโครงการ – ร้อยละ 83.99

ปัญหาต่อระบบนิเวศป่าแม่วงก์ที่อาจถูกทำลายหรือคุกคาม – ร้อยละ 82.98

ไม่เชื่อมั่นว่าจะสามารถควบคุมการลักลอบตัดไม้และการล่าสัตว์ป่าได้ – ร้อยละ 77.78

ผลกระทบในทางลบ และทางบวก

เมื่อถามว่า คุณคิดว่าการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์มีผลกระทบ (ในทางลบ) ต่อประเด็นต่อไปนี้ในระดับใด จากผลสำรวจพบว่าผลกระทบทางลบที่กลุ่มตัวอย่างคิดว่ามีผลกระทบในทางลบมากที่สุด 3 ลำดับแรกได้แก่

 การสูญเสียพื้นป่าที่อุดมสมบูรณ์และระบบนิเวศป่าแม่วงก์ – ร้อยละ 69.74

ผืนป่าตะวันตกอาจถูกคุกคามได้ง่ายขึ้น  – ร้อยละ 62.05

การสูญเสียเป็นป่ามรดกโลก – ร้อยละ 60.90

 

 ส่วนเมื่อถามว่า คุณคิดว่าการก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์มีผลกระทบ (ในทางบวก) หรือประโยชน์ ต่อประเด็นต่อไปนี้ในระดับใด จากผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่คิดว่า สามารถแก้ปัญหาน้ำแล้งให้กับบริเวณพื้นที่โดยรอบ จะมีผลที่น้อย และน้อยที่สุด รวมเป็นร้อยละ 50.83 และคิดว่าสามารถแก้ปัญหาน้ำท่วมบริเวณลุ่มน้ำแม่วงก์ จะมีผลน้อยและน้อยที่สุด รวมเป็นร้อยละ 55.60 ส่วนการเพิ่มผลผลิตและรายได้ให้แก่เกษตรกร ให้สามารถทำการเพาะปลูกได้ทุกฤดู และผลผลิตจากการเลี้ยงปลา เลี้ยงกบ ผู้ตอบแบบสำรวจร้อยละ 26.90 คิดว่าจะสามารถมีผลกระทบในทางบวกได้ในระดับปานกลาง

 

 หมายเหตุ: กลุ่มตัวอย่างที่ได้ผ่านการตอบโพลออนไลน์นั้น อาจมีความสนใจในเรื่องดังกล่าวเป็นพิเศษ เนื่องจากต้องอาสาเข้ามาตอบโพลเอง  ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จะขาดความเป็นตัวแทนของผู้ไม่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าว

ติดตามกิจกรรมผลสำรวจรวจของ SurveyCan ได้ที่ http://www.facebook.com/surveycan

 

 

 


One thought on “ผลสำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์

  1. Pingback: ผลสำรวจความคิดเห็นต่อนโยบายก่อสร้างเขื่อนแม่วงก์ | OnlinePR.in.th