ก.พ. 08

ทำไม SurveyCan ถึงริเริ่มโครงการโพลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในครั้งนี้

โพลคืออะไร? การทำโพลก็คือการหยั่งเสียงหรือการสำรวจประชามติ (Public Opinion Survey) โดยการอาศัยหลักของการสุ่มเลือกตัวอย่างทดสอบตัวอย่างจากคนจำนวนน้อย เพื่อให้ได้ข้อมูลอันเป็นตัวแทนเกี่ยวกับคนส่วนมาก วัตถุประสงค์หลักของการทำการหยั่งเสียงแบบ public opinion นี้ก็คือการหยั่งเสียงจากกลุ่มตัวอย่าง (targeted sample) จากกลุ่มประชากร

หลายครั้งเวลามีการรายงานโพล ก็คงเคยตั้งคำถามกันว่า ‘ทำไมเราถึงไม่เคยถูกสำรวจเลย’

จำนวนประชากรในประเทศไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีทั้งหมดประมาณ 54 ล้านคน แต่ละโพลจะมีจำนวนผู้ตอบเฉลี่ยประมาณ 1500  คน สมมติว่าในปีหนึ่ง ๆ มีการทำโพลระดับชาติอยู่ 300 ครั้ง จะมีคนได้เข้าร่วมตอบทั้งสิ้น 450,000 คนต่อปี และถ้าคิดว่าการสำรวจในแต่ละครั้งจะไม่สำรวจซ้ำคนกันเลยในช่วงปีๆ หนึ่ง โอกาสที่คุณจะได้เข้าร่วมสำรวจต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 100 เท่านั้นเอง

แล้วทำไมไม่ให้เสียงของคุณได้มีส่วนในโพลด้วย?

SurveyCan ได้จัดโครงการการทำโพลเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ปี พ.ศ. 2556 ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้คนกรุงเทพที่มีความสนใจทางการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการทำโพล สะท้อนเสียงของคุณเองได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคนมาสำรวจทำโพลอีกต่อไป

จากที่เคยถามกันว่าการสุ่มกลุ่มตัวอย่างนั้น สามารถใช้เป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้หรือไม่ SurveyCan มีกระบวนการที่จะวิเคราะห์สรุปผลจากกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้เป็นตัวแทนกลุ่มประชากรในครั้งนี้ นั่นคือ จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่ากทม. ในวันที่ 3 มีนาคม 2556 ดังนั้นเพื่อให้ความคิดเห็นของคุณได้สะท้อนในการสำรวจครั้งนี้ คุณมีสิทธิ์เลือกที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้แล้ว เพื่อเราจะได้ผลที่สะท้อนความเป็นจริงได้มากที่สุด  ไม่เป็นการเข้าข้างใดข้างหนึ่ง เป็นไปตามหลักวิชาการ ทางเราจะเผยแพร่ผลโพลเป็นระยะ ๆ ต่อไปใน http://blog.surveycan.com และที่ Facebook fan page ที่ http://www.facebook.com/surveycan

อีกเหตุผลหนึ่งที่เป็นแรงดลใจให้ SurveyCan ริเริ่มโครงการนี้คือ ความท้าทายในการพิสูจน์ว่าการทำสำรวจแบบออนไลน์นั้น ก็มีความน่าเชื่อถือ ไม่ต่างจากการทำแบบสำรวจด้วยวิธีทั่วไป และแน่นอนด้วยสมมติฐานที่ว่าการออกแบบแบบสอบถาม และการวิเคราะห์ผลต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งเราก็จะได้เผยแพร่กระบวนการที่เราใช้เพื่อเป็นกรณีศึกษาต่อไปด้วย

ถึงแม้ว่าการทำโพลไม่อาจที่จะถูกต้องได้ 100% แต่นี่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะได้หยั่งเสียงความนิยม และเป็นการให้ผู้ที่ยังไม่มีสิทธิหรือไม่ไปเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้งทางอ้อมได้ด้วย

คุณสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ได้ที่ https://www.surveycan.com/survey107212 หรือสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์เพื่อเรียนรู้การนำแบบสำรวจออนไลน์มาใช้กับกิจกรรมของคุณได้ที่ http://www.surveycan.com/