ผู้ที่ใช้งาน SurveyCan ต้องการจะอัพโหลดรูปภาพลงในแกลลอรี่ โดยที่ใช้บราวเซอร์ IE แล้วมีปัญหามองไม่เห็นปุ่ม ลองมาทำตามวิธีด้านล่างนี้กันเลย
1.ไปที่เมนูตั้งค่า เลือกที่รูป ฟันเฟือง
2. เลือก Manang add-ons
3. เมนูฝั่งซ้าย Add-on Types เลือก Toolbars and Extensions
ฝั่งขวามือ เมนู Microsoft Windows Third Party Application Component
ไปเลือก Shockwave Flash Object กด Enable แล้วกด Close ปิดหน้าต่างตั้งค่า
4.กด รีเฟรชบราวเซอร์ หรือกดปุ่มคีย์บอร์ด F5 ก็จะเห็นปุ่ม “อัพโหลดรูปภาพ”
วิธีใส่โค้ด CSS ในโปรแกรมแบบสอบถาม SurveyCan

ตกแต่งความสวยงามจัดกึ่งกลางของข้อตัวเลือก
ปัญหาที่พบจากระบบ ต้องการจัดเรียงระเบียบและความสวยงามของคำตอบตัวเลือกในข้อคำถามที่เป็นเมตรทริก คุณสามารถทำได้โดยง่ายเพียงก็อปปี้โค้ด CSS ไปวางในช่อง CSS ของระบบ กดปุ่มใช้งาน หน้าแบบสอบถามก็จะเป็นระเบียบทันที
มีขั้นต้นดังนี้
เริ่มด้วยเข้าไปหน้า “แก้ไขแบบสอบถาม” สังเกตุเมนูด้านบนทางซ้ายจะเห็นเมนูที่ชื่อว่า “ปรับแต่งรูปแบบ” พอกดเข้าไปจะเจอกับเมนูทางซ้ายมือเรียงอยู่ 3เมนู
-รูปแบบของระบบ
-รูปแบบของฉัน
– CSS

เลือกเมนู CSS เมื่อกดเข้าไปจะเจอช่องว่างเปล่าๆหรือแม้กระทั่งมีโค้ดอื่นๆอยู่แล้ว คุณไม่ต้องสนใจใดๆเนื่องจากโค้ดที่ปรากฏให้เห็นนั้นเป็นโค้ด CSS ที่ทางคุณหรือระบบได้เพิ่มเข้าไปอัตโนมัติเนื่องจากคุณมีการเพิ่มขนาดตัวอักษร เพิ่มรูปภาพ ที่ทำได้จากการปรับแต่งรูปแบบนั่นเอง
ดูและก็อปปี้โค้ด CSS ทั้งหมดนี้ลงไปใส่ในช่อง ปรับแต่ง CSS
ตัวอย่างโค้ด จัดกึ่งกลาง ( ก็อปปี้โค้ดนี้ เริ่มตั้งแต่ จุด จนสิ้นสุดตัวสุดท้ายปีกกาปิด ไปวางในช่อง CSS กดปุ่ม “ใช้”)
.matrix table.options th.col-option { text-align: center; }

โค้ด CSS มีอะไรบ้างช่วยในการแต่งความสวยงามของแบบสอบถามสามารถดูได้ที่นี่ https://joo.gl/dycZG0
หากท่านมีข้อสงสัยหรือปัญหาใดๆ โปรดติดต่อเราได้ที่
e-mail :support@surveycan.com หรือโทร. 088-848-2101
ทีมงาน SurveyCan.com
ต้องการใส่รูปภาพลงบนคำตอบตัวเลือกในแบบสอบถามทำได้ดังนี้
ลูกค้า : “แบบฟอร์มคำถามต้องใส่รูปภาพด้วย สามารถทำได้ใส่รูปภาพลงไปในตัวเลือกได้ไหม?”
SurveyCan: “สามารถทำได้ครับ”
สามารถทำได้ดังนี้
เริ่มด้วย นำรูปภาพที่ต้องการนำไปอัพโหลดเข้าใน “แกลเลอรี่ของฉัน” (หากมองไม่เห็นปุ่ม “อัพโหลด”ให้ทำตามวิธีในลิ้งค์นี้ https://bit.ly/2zfyiuy)

ขั้นตอนต่อไป เมื่ออัพโหลดรูปภาพเป็นที่เรียบร้อยแล้วจากนั้น กดปุ่ม “คัดลอกที่อยู่”ที่อยู่ใต้ภาพที่อัพโหลด “กด Ctrl+C เพื่อคัดลอกลิงค์”

หลังจากนั้นกลับไปยังหน้า “แก้ไขแบบสอบถาม” นำไปวางในช่องไอค่อนรูปภาพ ในข้อตัวเลือกคำตอบที่ต้องการ สามารถใส่รูปภาพข้อคำตอบตัวเลือกได้ทั้ง “ตัวเลือกเดียว” และ “หลายตัวเลือก” หรือสามารถใส่รูปภาพลงในช่อง “คำอธิบาย” ได้อีกด้วย


หากท่านมีข้อสงสัยหรือปัญหาใดๆ โปรดติดต่อเราได้ที่
e-mail :support@surveycan.com หรือโทร. 088-848-2101
ทีมงาน SurveyCan.com
การทำประเมิน Employee Engagement ของบริษัทคุณ
บริษัทใหญ่ในปัจจุบันนี้บริษัทในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากบริษัทต่างชาติในด้านการสร้างความสุขภายในองค์กรเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรให้มีมากขึ้น เพื่อสร้างขุมพลังขององค์กรให้มีศักยภาพสูง และเมื่อความผูกพันระหว่างพนักงานและองค์กรบริษัทมีมากขึ้นทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน ส่งผลทำให้ผลการทำงานดีขึ้นตามไปด้วย หลักๆก็การคล้ายๆ กับการสร้างความรู้สึกดีระหว่างสินค้ากับลูกค้า สินค้าดี คนขายดีลูกค้าก็ชอบ
สิ่งสำคัญ 5 ประการที่จะส่งผลต่อความผูกพัน
1.ความพึงพอใจ (Satisfaction) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลตอบแทน สวัสดิการต่างๆ แม้รวมถึงความพึงพอใจในอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงาน ตัวอย่างง่ายๆ คอมพิวเตอร์เก่าๆช้าอื่ดๆ ส่งผลต่อความล่าช้าของงาน งานที่ได้ล่าช้าเกิดความเบื่อหน่าย หากอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ดีช่วยสร้างความพึงพอใจได้ต่อการทำงานเป็นอย่างดี
2.ภักดี (Loyalty) เมื่อเกิดความพึงพอใจต่อสิ่งที่ได้รับ แน่นอนว่าสิ่งนี้ย่อมตามมา เมื่อมีความภักดีเกิดขึ้น ไม่ว่ากัปตันเรือจะสั่งซ้ายหันขวาหันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่กะลาสีจะไม่ทำตาม
3.บอกต่อ (Word of Mouth) พนักงานของคุณพร้อมที่จะคุยกับคนรอบข้างถึงที่ทำงานตัวเองดีอย่างไร โดยที่บริษัทแทบจะไม่ต้องโปรโมทอะไรมากมาย แง่นี้จะส่งผลดี โดยเฉพาะการสรรหาคนเก่งเข้ามาร่วมงานได้ไม่ยาก
4.ตระหนัก (Awareness) เมื่อองค์กรแสดงให้เห็นลูกจ้างเห็นว่า ที่ที่เขาอยู่นั้นดีแค่ไหน ย่อมทำให้พวกเขารู้สึกตัวเอง นึกถึงบริษัทเพิ่มมากขึ้นเขาจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท รักและยอมทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพัฒนาองค์กรให้มากขึ้น
5.แบรนด์ (Brand) ภาพลักษณ์ของบริษัทก็จะดีขึ้นชื่อเสียงขององค์กรคุณเองเป็นที่รู้จัก ตัวอย่างบริษัทระดับโลกอย่าง Google เขาดูแลพนักงานของเขาด้วย 4 ข้อที่ผ่านมา ใครๆก็อยากไปทำที่นี่กันมากถือว่าเป็นการลงทุนในเชิงตลาดที่คุ้มค่าอีกทาง
Employee Engagement จึงความหมายว่า การเสริมสร้างให้บุคลากรในองค์กรมีระดับความเป็นเจ้าของร่วมหรือความมีส่วนร่วมในองค์กรสูงขึ้น เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเอง
เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานของเราคิดยังไงกับบริษัท วิธีการที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือการทำแบบประเมินความผูกพันของพนักงานกับองค์กรนี้ขึ้นมา
และที่น่าสนใจคือในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำถามอย่าง “เราควรถามความเห็นของพนักงานที่ต่อบริษัทบ่อยแค่ไหน?” แต่ตอนนี้คำถามกลับเปลี่ยนไปเป็น “เราควรถามความเห็นของพนักงานหรือไม่?” เหตุที่ลักษณะของคำถามเปลี่ยนไป เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาไปมาก ทำให้นายจ้างสามารถเก็บฟีดแบ็คได้บ่อยมากขึ้น หรืออาจเรียกว่ามีความเห็นได้แบบรีลไทม์ กระนั้นหลายบริษัทจะทำประเมิน Employee Engagement (ประเมินความผูกพันของพนักงานกับองค์กร) ปีละ 1 ครั้ง หรือบางบริษัทอาจจะทำ 2 ปีครั้งเพื่อวัดผลแต่ถ้าจะให้แสดงผลออกมาชัดเจนจะต้องทำประเมินต่อเนื่องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอีกช่องทาง
การประเมินความผูกพันของพนักงานแบบไหนดีที่สุด
คำถามที่ว่าการทำประเมินแบบไหนถึงจะได้ผลดีที่สุด อาจยังไม่สำคัญเท่า การออกแบบสอบถามอย่างไรให้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากที่สุด
ขอบเขตและความถี่ คือสองตัวแปรสำคัญในการทำประเมินความผูกพันพนักงาน
แม้ว่าปัจจุบันรูปแบบการทำประเมินจะมีมากมาย แต่โดยพื้นฐานทุกอย่างต้องตั้งอยู่บนสองปัจจัยหลักคือ
– ขอบเขต สิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าความลึกตื้นหนาบางของแบบสอบถาม เช่น จำนวนของพนักงานที่ทำสำรวจ จำนวนคำถาม ความลึกของคำถาม ระดับของข้อมูล และจะนำผลการประเมินไปใช้กับอะไร
– ความถี่ ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในการทำแบบสอบถามว่าจะเป็นแบบรายปี รายไตรมาส หรือสัปดาห์
Address: Little Big Links Co., Ltd.
ที่อยู่บริษัท : 95/11 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120
Tel: 088-848-2101
Email: support@surveycan.com
Facebook: www.facebook.com/surveycan
ตัวอย่างแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ
ตัวอย่างแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ
สวัสดีครับปัจจุบันเทคโนโลยีพาเรามาไกล พัฒนาแบบสอบถามจากรูปแบบกระดาษมาอยู่ในรูปแบบออนไลน์บนมือถือสมาร์ทโฟนของเรา ข้อดีมีมากมาย ลดการใช้กระดาษ,ลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนและลดการจ้างพนักงานคีย์ข้อมูล, สามารถดูผลออนไลน์ได้ทันทีที่มีการตอบ,สะดวก,ง่าย,เข้าถึงได้ง่าย
การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ ทางเราแบ่งส่วนของการเก็บข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของข้อมูลส่วนตัว หรือ demographics data
การเก็บข้อมูลส่วนตัวทั่วๆไป เช่น เพศ ,อายุ,การศึกษา หรืออยากลงลึกถึงรายละเอียดมากกว่านี้ก็ได้ครับ แต่ก็จะทำให้ผู้ตอบเบื่อหน่ายต้องใช้เวลามากขึันและเป็นการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเขามากเกินไป
ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของสอบถามข้อคิดเห็นการให้บริการ
ส่วนนี้จะสร้างคำถามแบบ Rating score 5,4,3,2,1 ให้คะแนนการให้บริการที่แสดงถึงความพึงพอใจในบริการนั้นๆหรือไม่ ในส่วนของข้อคำถามนี้จะต้องสอดคล้องกับธุรกิจหรือบริการที่ดำเนินการอยู่ ลูกค้าพึงพอใจมากน้อยเพียงใด เพื่อนำผลคะแนนั้นๆมาปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น
ส่วนที่ 3 เป็นส่วนของข้อแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม นอกเหนือจากคำถามที่เราสร้าง
ในส่วนนี้ก็สำคัญมาก โดยเราจะสร้างเป็นกล่องแสดงความคิดเห็นแบบเปิดให้ผู้ตอบพิมพ์ข้อความลงไปได้อย่างอิสระ ในประสบการณ์ของผมแล้วข้อนี้สำคัญเมื่อผู้รับการให้บริการประสบปัญหาที่ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ พึงได้ทันทีว่าลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีมากหรือแย่มากก็จะตอบแสดงความคิดเห็นในช่องนี้ เพราะเนื่องจากเป็นการพิมพ์ตอบแบบสอบถามแบบต้องเสียเวลาพิมพ์และต้องมีการคิดกลั่นกรองแล้ว
**สำคัญ**หากได้รับการติเตียนเรื่องการบริการในส่วนของคอมเม้นท์ ต้องรับจัดการเป็นการด่วนเพื่อไม่ให้ผู้ตอบไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจส่งผลให้เกิดอารมณ์เพิ่มมากขึ้นถึงขั้นนำไปโพสน์ในที่สาธารณะ ส่งผลทำให้การจัดการปัญหาเป็นไปได้ยากและส่งผลถึงชื่อเสียงตามมา หากใครได้รับคอมเม้นท์ในส่วนข้อเสนอแนะรีบแก้ไขนะครับ
ท้ายนี้คุณสามารถทดลองสร้างแบบสอบถามได้ที่ www.surveycan.com
หากท่านมีข้อสงสัยหรือปัญหาใดๆ โปรดติดต่อเราได้ที่ e-mail : support@surveycan.com
หรือโทร. 088-848-2101
ทีมงาน SurveyCan.com