ม.ค. 27

การทำประเมิน Employee Engagement ของบริษัทคุณ

บริษัทใหญ่ในปัจจุบันนี้บริษัทในประเทศไทยได้รับอิทธิพลจากบริษัทต่างชาติในด้านการสร้างความสุขภายในองค์กรเพื่อสร้างความผูกพันของพนักงานต่อองค์กรให้มีมากขึ้น เพื่อสร้างขุมพลังขององค์กรให้มีศักยภาพสูง และเมื่อความผูกพันระหว่างพนักงานและองค์กรบริษัทมีมากขึ้นทำให้พนักงานมีความสุขในการทำงาน ส่งผลทำให้ผลการทำงานดีขึ้นตามไปด้วย หลักๆก็การคล้ายๆ กับการสร้างความรู้สึกดีระหว่างสินค้ากับลูกค้า สินค้าดี คนขายดีลูกค้าก็ชอบ

สิ่งสำคัญ 5 ประการที่จะส่งผลต่อความผูกพัน
1.ความพึงพอใจ (Satisfaction) ไม่ว่าจะเป็นเรื่องผลตอบแทน สวัสดิการต่างๆ แม้รวมถึงความพึงพอใจในอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ในการทำงาน ตัวอย่างง่ายๆ คอมพิวเตอร์เก่าๆช้าอื่ดๆ ส่งผลต่อความล่าช้าของงาน งานที่ได้ล่าช้าเกิดความเบื่อหน่าย หากอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ดีช่วยสร้างความพึงพอใจได้ต่อการทำงานเป็นอย่างดี

2.ภักดี (Loyalty) เมื่อเกิดความพึงพอใจต่อสิ่งที่ได้รับ แน่นอนว่าสิ่งนี้ย่อมตามมา เมื่อมีความภักดีเกิดขึ้น ไม่ว่ากัปตันเรือจะสั่งซ้ายหันขวาหันก็ไม่ใช่เรื่องยากที่กะลาสีจะไม่ทำตาม

3.บอกต่อ (Word of Mouth) พนักงานของคุณพร้อมที่จะคุยกับคนรอบข้างถึงที่ทำงานตัวเองดีอย่างไร โดยที่บริษัทแทบจะไม่ต้องโปรโมทอะไรมากมาย แง่นี้จะส่งผลดี โดยเฉพาะการสรรหาคนเก่งเข้ามาร่วมงานได้ไม่ยาก

4.ตระหนัก (Awareness) เมื่อองค์กรแสดงให้เห็นลูกจ้างเห็นว่า ที่ที่เขาอยู่นั้นดีแค่ไหน ย่อมทำให้พวกเขารู้สึกตัวเอง นึกถึงบริษัทเพิ่มมากขึ้นเขาจะรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของบริษัท รักและยอมทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อพัฒนาองค์กรให้มากขึ้น

5.แบรนด์ (Brand) ภาพลักษณ์ของบริษัทก็จะดีขึ้นชื่อเสียงขององค์กรคุณเองเป็นที่รู้จัก ตัวอย่างบริษัทระดับโลกอย่าง Google เขาดูแลพนักงานของเขาด้วย 4 ข้อที่ผ่านมา ใครๆก็อยากไปทำที่นี่กันมากถือว่าเป็นการลงทุนในเชิงตลาดที่คุ้มค่าอีกทาง

Employee Engagement จึงความหมายว่า การเสริมสร้างให้บุคลากรในองค์กรมีระดับความเป็นเจ้าของร่วมหรือความมีส่วนร่วมในองค์กรสูงขึ้น เพื่อให้องค์กรประสบความสำเร็จตามเป้าหมายที่ตั้งไว้นั้นเอง

เราจะรู้ได้อย่างไรว่าพนักงานของเราคิดยังไงกับบริษัท วิธีการที่นิยมใช้กันมากที่สุดคือการทำแบบประเมินความผูกพันของพนักงานกับองค์กรนี้ขึ้นมา 

และที่น่าสนใจคือในช่วงหลายปีที่ผ่านมา คำถามอย่าง “เราควรถามความเห็นของพนักงานที่ต่อบริษัทบ่อยแค่ไหน?” แต่ตอนนี้คำถามกลับเปลี่ยนไปเป็น “เราควรถามความเห็นของพนักงานหรือไม่?” เหตุที่ลักษณะของคำถามเปลี่ยนไป เพราะเทคโนโลยีที่พัฒนาไปมาก ทำให้นายจ้างสามารถเก็บฟีดแบ็คได้บ่อยมากขึ้น หรืออาจเรียกว่ามีความเห็นได้แบบรีลไทม์  กระนั้นหลายบริษัทจะทำประเมิน Employee Engagement (ประเมินความผูกพันของพนักงานกับองค์กร) ปีละ 1 ครั้ง หรือบางบริษัทอาจจะทำ 2 ปีครั้งเพื่อวัดผลแต่ถ้าจะให้แสดงผลออกมาชัดเจนจะต้องทำประเมินต่อเนื่องเพื่อใช้ประกอบการพิจารณาอีกช่องทาง

การประเมินความผูกพันของพนักงานแบบไหนดีที่สุด
คำถามที่ว่าการทำประเมินแบบไหนถึงจะได้ผลดีที่สุด อาจยังไม่สำคัญเท่า การออกแบบสอบถามอย่างไรให้ข้อมูลที่มีประโยชน์มากที่สุด

ขอบเขตและความถี่ คือสองตัวแปรสำคัญในการทำประเมินความผูกพันพนักงาน

แม้ว่าปัจจุบันรูปแบบการทำประเมินจะมีมากมาย แต่โดยพื้นฐานทุกอย่างต้องตั้งอยู่บนสองปัจจัยหลักคือ
– ขอบเขต สิ่งนี้จะเป็นตัวกำหนดว่าความลึกตื้นหนาบางของแบบสอบถาม เช่น จำนวนของพนักงานที่ทำสำรวจ จำนวนคำถาม ความลึกของคำถาม ระดับของข้อมูล และจะนำผลการประเมินไปใช้กับอะไร

– ความถี่ ซึ่งหมายถึงระยะเวลาในการทำแบบสอบถามว่าจะเป็นแบบรายปี รายไตรมาส หรือสัปดาห์

Address: Little Big Links Co., Ltd.

ที่อยู่บริษัท : 95/11 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120

Tel: 088-848-2101

Email: support@surveycan.com

Facebook: www.facebook.com/surveycan


ม.ค. 24

ตัวอย่างแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ

ตัวอย่างแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ

สวัสดีครับปัจจุบันเทคโนโลยีพาเรามาไกล พัฒนาแบบสอบถามจากรูปแบบกระดาษมาอยู่ในรูปแบบออนไลน์บนมือถือสมาร์ทโฟนของเรา ข้อดีมีมากมาย ลดการใช้กระดาษ,ลดการกรอกข้อมูลซ้ำซ้อนและลดการจ้างพนักงานคีย์ข้อมูล, สามารถดูผลออนไลน์ได้ทันทีที่มีการตอบ,สะดวก,ง่าย,เข้าถึงได้ง่าย

ตัวอย่างแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ


การสร้างแบบสอบถามความพึงพอใจในการให้บริการ ทางเราแบ่งส่วนของการเก็บข้อมูลออกเป็น 3 ส่วน
ส่วนที่ 1 เป็นส่วนของข้อมูลส่วนตัว หรือ demographics data
การเก็บข้อมูลส่วนตัวทั่วๆไป เช่น เพศ ,อายุ,การศึกษา หรืออยากลงลึกถึงรายละเอียดมากกว่านี้ก็ได้ครับ แต่ก็จะทำให้ผู้ตอบเบื่อหน่ายต้องใช้เวลามากขึันและเป็นการเข้าถึงข้อมูลส่วนตัวเขามากเกินไป

ส่วนที่ 2 เป็นส่วนของสอบถามข้อคิดเห็นการให้บริการ
ส่วนนี้จะสร้างคำถามแบบ Rating score 5,4,3,2,1 ให้คะแนนการให้บริการที่แสดงถึงความพึงพอใจในบริการนั้นๆหรือไม่ ในส่วนของข้อคำถามนี้จะต้องสอดคล้องกับธุรกิจหรือบริการที่ดำเนินการอยู่ ลูกค้าพึงพอใจมากน้อยเพียงใด เพื่อนำผลคะแนนั้นๆมาปรับปรุงการให้บริการให้ดียิ่งขึ้น

ส่วนที่ 3 เป็นส่วนของข้อแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติม นอกเหนือจากคำถามที่เราสร้าง
ในส่วนนี้ก็สำคัญมาก โดยเราจะสร้างเป็นกล่องแสดงความคิดเห็นแบบเปิดให้ผู้ตอบพิมพ์ข้อความลงไปได้อย่างอิสระ ในประสบการณ์ของผมแล้วข้อนี้สำคัญเมื่อผู้รับการให้บริการประสบปัญหาที่ตอบแบบสอบถามในข้อนี้ พึงได้ทันทีว่าลูกค้าได้รับประสบการณ์ที่ดีมากหรือแย่มากก็จะตอบแสดงความคิดเห็นในช่องนี้ เพราะเนื่องจากเป็นการพิมพ์ตอบแบบสอบถามแบบต้องเสียเวลาพิมพ์และต้องมีการคิดกลั่นกรองแล้ว
**สำคัญ**หากได้รับการติเตียนเรื่องการบริการในส่วนของคอมเม้นท์ ต้องรับจัดการเป็นการด่วนเพื่อไม่ให้ผู้ตอบไม่ได้รับการช่วยเหลือ อาจส่งผลให้เกิดอารมณ์เพิ่มมากขึ้นถึงขั้นนำไปโพสน์ในที่สาธารณะ ส่งผลทำให้การจัดการปัญหาเป็นไปได้ยากและส่งผลถึงชื่อเสียงตามมา หากใครได้รับคอมเม้นท์ในส่วนข้อเสนอแนะรีบแก้ไขนะครับ

ท้ายนี้คุณสามารถทดลองสร้างแบบสอบถามได้ที่ www.surveycan.com
หากท่านมีข้อสงสัยหรือปัญหาใดๆ โปรดติดต่อเราได้ที่ e-mail : support@surveycan.com
หรือโทร. 088-848-2101
ทีมงาน SurveyCan.com