เม.ย. 22

วันนี้คุณลดใช้กระดาษช่วยโลกของเราแล้วหรือยัง

วันนี้คุณลดใช้กระดาษช่วยโลกของเราแล้วหรือยัง

แบบสอบถามออนไลน์

แบบสอบถามออนไลน์

คุณทราบหรือไม่ว่า การใช้กระดาษในแถบเอเชียคิดเป็นจำนวน 44% เกือบครึ่งหนึ่งของการบริโภครวมทั่วโลก
ซึ่งส่งผลกระทบทำให้เกิดภาวะโลกร้อน และด้วยเทคโนโลยีในปัจจุบันพัฒนาไปมาก คุณทราบหรือไม่ว่าปัจจุบันการทำแบบสอบถาม แบบสำรวจความคิดเห็น ความพึงพอใจของลูกค้า หรือแม้กระทั่งการสร้างแบบฟอร์มถามตอบ ไม่จำเป็นต้องพึ่งพากระดาษให้สิ้นเปลืองอีกต่อไป ลดค่าใช้จ่ายในการจ้างพนักงานสำรวจ
ลดการใช้พลังงาน ประหยัดน้ำมัน ในการออกไปสำรวจ ลดพนักงานคีย์ข้อมูล เราจึงขอแนะนำทางเลือกที่ช่วยลดการใช้กระดาษ ลดการก่อเกิดภาวะโลกร้อน หันมาใช้แบบสอบถามออนไลน์กันมากขึ้น แบบสอบถามออนไลน์นิยมใช้ในต่างประเทศกันมานานพอสมควรแล้ว โดยเฉพาะสหรัฐอเมริกา ใช้กันอย่างแพร่หลายมาก ไม่ว่าจะเป็นการสอบถามความพึงพอใจหลังการขาย แบบสอบถามการใช้บริการห้องพักของโรงแรม เพื่อไปปรับแผนการตลาด ปรับปรุงการบริการ และเพื่อสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า ส่งผลที่ดีต่อการบริการสร้างภาพให้กับองค์กร ลดใช้กระดาษ ลดใช้หมึกปากกา เท่านี้คุณก็ช่วยลดภาวะโลกร้อนได้แล้ว
แล้ววันนี้หล่ะคุณช่วยโลกของเราแล้วหรือยัง เข้าชมตัวอย่างแบบสอบถามที่ช่วยโลกได้ที่ เว็บไซต์ http://service.surveycan.com/demosurvey
หากสนใจทดลองใช้ฟรี ง่ายๆ เพียงแค่มี e-mail เท่านี้ก็สามารถสมัครใช้ฟรีได้แล้ว ที่ http://www.surveycan.com
หรือสอบถามรายละเอียดที่ Email: support@surveycan.com
https://www.facebook.com/surveycan
http://www.surveycan.com/
02-583-9992 # 1516
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120


เม.ย. 19

ข้อแนะนำในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ Surveycan บนสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ตในบริเวณที่สัญญาณอินเตอร์เน็ตต่ำ

ข้อแนะนำในการตอบแบบสอบถามออนไลน์ Surveycan บนสมาร์ทโฟนหรือแท็ปเล็ตในบริเวณที่สัญญาณอินเตอร์เน็ตต่ำ

แบบสอบถามแบบไม่มีNet

แบบสอบถามแบบไม่มีNet

SurveyCan เป็นผู้ให้บริการแบบสอบถามแบบฟอร์มออนไลน์ในประเทศไทย การบริการของเรานั้นเป็นบริการโปรแกรมที่ไม่ต้องดาวน์โหลดมาติดตั้งลงบนเครื่องของท่าน จึงต้องพึ่งพา Internet เป็นหลักในการจะต้องเชื่อมต่อ Internet ตลอดการสร้างหรือตลอดการตอบแบบสอบถาม
ซึ่งวัตถุประสงค์ของเราคือการสำรวจแบบสอบถามแบบออนไลน์ทั้งหมด โดยการส่งแบบสอบถามไปยังผู้ตอบผ่านทาง email , facebook ,QR Code หรือเผยแพร่ทาง socialnetwork ต่างๆ เพื่อให้การสำรวจแบบสอบถามสะดวงและง่ายยิ่งขึ้น
ก็ยังมีอีกหลายท่านสอบถามเข้ามาว่าถ้าหากไม่มีอินเตอร์เน็ตจะต้องทำอย่างไร คำตอบคือหากท่านไม่มีอินเตอร์เน็ตเลยท่านก็จะไม่สามารถใช้ได้เลย เพราะหากท่านเปิดหน้าแบบสอบถาม ท่านจะต้องใช้สัญญาณอินเตอร์เน็ตในการเปิดหน้าแบบสอบถามหรือหน้าเว็บไซต์ของเราเพื่อ Login ระบบหรือหากแน่ใจว่าบริเวณนั้นมีสัญญาณอินเตอร์เน็ตต่ำ เรามีข้อแนะนำมาบอก ดังนี้
1.การใช้งานแบบสอบถามบริเวณที่สัญญาณอินเตอร์เน็ตต่ำคุณตรวจสอบให้แน่ใจว่าแบบสอบถามที่ใช้งาน ถูกโหลดโดยสมบูรณ์ โดยไม่มีสัญญลักษณ์หรือแถบการโหลดหมุนหรือแสดงอยู่
2.ไม่รีเฟรชหน้าเว็บในช่วงการสำรวจการตอบแบบสอบถาม (หากแบบสอบถามมีหลายหน้าก็ไม่ต้องกังวล กดปุ่มถัดไป ก็ไม่ต้องกังวลไม่มีปัญหา หมายเหตุ จะต้องไม่มีสัญญลักษณ์หรือแถบการโหลดหมุนหรือแสดงอยู่ )
3.ควรกดปุ่ม “ส่ง”หรือ “Submit” ก็ต่อเมื่อแน่ใจระบบอินเตอร์เน็ตของคุณมีการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตสมบูรณ์แล้ว
4.ในหน้าของการตั้งค่าไม่ควรตั้งเปิดการใช้งาน Capcha ในการสำรวจแบบสอบถามในบริเวณที่สัญญาณอินเตอร์เน็ตต่ำ เพราะการใช้งาน Capcha จะต้องทำการเชื่อมต่อกับ
ฐานข้อมูลออนไลน์เสมอ จึงไม่ควรเปิดใช้งาน เพราะข้อมูลอาจเกิดความผิดพลาด (Error) ขึ้นมาได้
หากมีปัญหาหรือข้อสงสัยเพิ่มเติม คุณสามารถติดต่อมาได้ ที่ http://www.surveycan.com หรือสอบถามที่Email: support@surveycan.com

https://www.facebook.com/surveycan
http://www.surveycan.com/
02-583-9992 # 1516
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120


เม.ย. 17

เครื่องมือวิจัย

เครื่องมือวิจัย หมายถึงสิ่งที่ใช้สําหรับวัดค่าของตัวแปรการวิจัย หรือใช้สําหรับเก็บรวบรวมข้อมูลของตัวแปรการวิจัยทุกตัวแปรของปญหาการวิจัยที่ผู้วิจัยกําลังทําการวิจัยเพื่อหาคําตอบ เครื่องมือวิจัยมีหลายประเภท เช่น แบบทดสอบ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต เป็นต้น

การเลือกใช้เครื่องมือวิจัย ก่อนที่ผู้วิจัยจะตัดสินใจเลือกใช้เครื่องวิจัยประเภทใดนั้น จะต้องคํานึงหลักการดังต่อไปนี้
1. ลักษณะประชากรการวิจัย ถ้าประชากรที่ใช้ในการวิจัยเป็นคน ก็ต้องมาพิจารณาอีกว่าประชากรสามารถอ่านออก เขียนได้หรือไม่ ถ้าได้ก็อาจจะเลือกใช้เครื่องมือวิจัย ประเภทแบบทดสอบ หรือแบบสอบถาม ประชากรอ่านไม่ออก หรือเขียนไม่ได้ ก็ต้องใช้แบบสัมภาษณ์ แต่ถ้าประชากรเป็นสัตว์หรือสิ่งของ เครื่องมือวิจัยก็อาจต้องใช้แบบสังเกต

2. ตัวแปรการวิจัย ผู้วิจัยต้องตรวจดูตัวแปรการวิจัยของปญหาการวิจัยว่ามีตัวแปรอะไรบ้าง แต่ละตัวแปรจะวัดค่าออกมาได้อย่างไร แล้วจึงตัดสินใจเลือกเครื่องมือวิจัยให้เหมาะสม เช่น ตัวแปรการวิจัยเป็น เจตคติต่อการปฏิรูปการศึกษาของครู ผู้วิจัยจะวัดค่าของตัวแปร 5 ค่า คือเห็นด้วยอย่างยิ่ง เห็นด้วย เฉยๆ ไม่เห็นด้วย และไม่เห็นด้วยอย่างยิ่ง เครื่องมือวิจัยที่ใช้ก็จะเป็นแบบสอบถามปลายปิด แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating scale) ถ้าตัวแปรเป็น ผลสัมฤทธิทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้กลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เครื่องมือวิจัย ก็จะใช้แบบทดสอบ เป็นต้น

3. ลักษณะข้อมูลที่ผู้วิจัยต้องการ ถ้าผู้วิจัยต้องการข้อมูลเชิงคุณภาพ หรือข้อมูลที่บรรยายลักษณะของตัวแปรอย่างละเอียด เช่นวัฒนธรรมของชุมชนใดชุมชนหนึ่งว่ามีอะไรบ้าง และแต่ละวัฒนธรรมมีการปฏิบัติอย่างไร เครื่องมือวิจัยก็จะใช้ แบบสอบถามปลายเปิด หรือการสัมภาษณ์และการสังเกตร่วมกัน ข้อมูลที่ได้จะเป็นการบรรยายลักษณะของตัวแปรการวิจัยนั้นๆ แต่ถ้าต้องการข้อมูลเชิงปริมาณ เครื่องมือวิจัยที่ใช้ จะเป็นแบบสอบถามปลายปิด หรือแบบทดสอบ เป็นต้น

4. ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัย ถ้าการวิจัยเรื่องนี้มีเวลามากผู้วิจัยก็อาจจะใช้การสัมภาษณ์แทนการใช้แบบสอบถาม หรือถ้ามีเวลาน้อยผู้วิจัยก็อาจจะเลือกใช้แบบสอบถามแทนการสัมภาษณ์เครื่องมือวิจัยที่ใช้วัดตัวแปรบางครั้งผู้วิจัยไม่จําเป็นจะต้องสร้างขึ้นเองก็ได้ ถ้าตัวแปรที่จะวัดหรือวิจัยนั้นมีเครื่องมือวัดที่มีคุณภาพเป็นที่เชื่อถืออยู่แล้ว ผู้วิจัยสามารถขอยืมจากหน่วยงาน หรือบุคคลที่มีเครื่องมือวิจัยนั้นอยู่แล้วก็ได้ แต่ที่ผู้วิจัยจะต้องเขียนบรรยายบอกให้ชัดเจนในรายงานการวิจัยด้วยว่าเป็นเครื่องมือวิจัยของใคร มีคุณภาพเป็นอย่างไรต้องมีการอ้างอิงหรือมีเชิงอรรถด้วย ถ้าผู้วิจัยจะต้องสร้างเครื่องมือวิจัยขึ้นใช้เองอย่างกรณีนักศึกษาปริญญาโทหรือปริญญาเอกที่ต้องทําวิทยานิพนธ์ หรือดุษฎีนิพนธ์อาจารย์ที่ปรึกษาส่วนใหญ่จะให้นักศึกษาสร้างเครื่องมือวิจัยขึ้นเองเพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ในการสร้างเครื่องมือวิจัย ผู้เขียนขอเสนอแนะหลักการทั่วไปของการสร้างเครื่องมือวิจัยดังนี้

หลักการทั่วไปของการสร้างเครื่องมือวิจัย มีดังนี้
1. กําหนดรายการตัวแปรการวิจัยให้ครบตามประเด็นปญหาการวิจัย หรือตาม ั
วัตถุประสงค์การวิจัยทุกข้อ
2. ศึกษาหรือกําหนดคํานิยามตัวแปรการวิจัยให้ครบทุกตัวแปร เพื่อใช้เป็น
กรอบในการสร้างเครื่องมือวิจัย คํานิยามตัวแปรที่ดีมีส่วนประกอบดังนี้
2.1 คํานิยามทั่วไปหรือคํานิยามตามทฤษฎี
2.2 คํานิยามเชิงปฏิบัติการ
3. เลือกเครื่องมือวิจัยสําหรับวัดค่าของตัวแปรทุกตัว
4. ศึกษาแนวคิดหรือทฤษฎีในการสร้างเครื่องมือวิจัยที่เลือกใช้
5. ลงมือสร้างเครื่องมือวิจัยตามแนวคิดหรือทฤษฎีในข้อ4และให้สอดคล้องหรือ
ตรงตามนิยามในข้อ2
6. ตรวจสอบความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา โดยให้ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหาตรวจสอบ
ข้อคําถามแต่ละข้อว่าสอดคล้องหรือตรงและครอบคลุมตามคํานิยามหรือไม่ และควรมีการ
แก้ไขหรือเพิ่มเติมอะไรอีกบ้าง
7. ปรับปรุง แก้ไข ข้อคําถามตามคําแนะนําของผู้เชี่ยวชาญ และอาจจะส่งให้
ผู้เชี่ยวชาญชุดเดิมตรวจสอบอีกครั้งก็จะดีMR 393(s) 145
8. ทดลองใช้เครื่องมือวิจัยกับกลุ่มตัวอย่างของประชากรการวิจัยจํานวนหนึ่ง
(20 ถึง 30 คน) ที่ไม่ใช่กลุ่มตัวอย่างสําหรับการวิจัย
9. นําข้อมูลที่ได้จากการทดลองไปหาคุณภาพ กรณีข้อมูลเชิงปริมาณผู้วิจัย
สามารถใช้วิธีการทางสถิติหาคุณภาพได้ทั้งรายข้อและทั้งฉบับ แต่ถ้าเป็นข้อมูลเชิง
คุณภาพผู้วิจัยอาจใช้วิธีการตรวจสอบความเป็นปรนัยของข้อคําถาม ว่าผู้ตอบเข้าใจ
คําถามหรือไม่ คําถามที่มีการตอบน้อยหรือไม่ตอบ ก็ต้องพิจารณาว่าคําถามอยากไป
หรือไม่ เป็นต้น
10. ถ้าพบว่าเครื่องมือวิจัยยังมีข้อพกพร่อง ผู้วิจัยก็ต้องทําการปรับปรุง แก้ไข
และอาจต้องนําไปทดลองอีก จนกว่าจะมีคุณภาพตามเกณฑ์
11. จัดเตรียมเครื่องมือวิจัยให้พร้อมที่จะนําไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างต่อไป

ขอบคุณที่มา

http://e-book.ram.edu/e-book/m/MR393/chapter7.pdf

 

***ดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ http://www.surveycan.com หรือสอบถามที่ Email: support@surveycan.com

https://www.facebook.com/surveycan
http://www.surveycan.com/
02-583-9992 # 1516
บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120


มี.ค. 19

ผลสรุปกิจกรรมโพลเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

คงไม่อาจปฏิเสธได้ว่ากระแส ‘โพล’ ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ครั้งนี้เป็นที่กล่าวถึงเป็นอย่างมากตลอดเวลาตั้งแต่ก่อนจะมีการสมัครผู้ว่าด้วยซ้ำไป โดยเฉพาะเรื่องของการตั้งข้อสังเกตว่าการทำโพลเป็นการชี้นำให้ผู้มีสิทธิเลือกตั้งไปเลือกคนใดคนหนึ่งได้ ซึ่งนำไปถึงการร้องเรียนในหลายกรณีตามที่เป็นข่าว

จากผลการลงคะแนนอย่างไม่เป็นทางการ ปรากฏว่า ม.ร.ว. สุขุมพันธุ์ บริพัตร ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ได้รับคะแนนเสียง 1,256,349 คะแนน คิดเป็น 47.75% ในขณะที่ พล.ต.อ. พงศพัศ พงษ์เจริญ ได้รับคะแนนเสียง 1,077,899 คะแนน คิดเป็น 40.97% ซึ่งผลโพลที่ออกมาก่อนหน้านี้ หรือแม้กระทั่งผลจาก Exit Poll ก็ตามมีความคลาดเคลื่อนค่อนข้างสูง กับผลการเลือกตั้งจริง รวมถึงการทำโพลของ SurveyCan ด้วยที่ไม่อาจสะท้อนคะแนนนิยมก่อนการเลือกตั้งได้อย่างสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งจริงได้

SurveyCan ไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะเข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการเมือง จึงไม่เปิดเผยผลโพลว่าใครเป็นผู้นำผู้ตามด้วยคะแนนเท่าใด ในการรายงานผลในช่วงที่ผ่านมา การจัดทำโพลเลือกตั้งผู้ว่ากทม. ของ SurveyCan มีวัตถุประสงค์ 2 ประการด้วยกันคือ

1. เพื่อให้ทุกคนมีโอกาสได้มามีส่วนร่วมในการสะท้อนความคิดในผลโพล (จากที่เคยถามว่า ‘ทำไมไม่เคยมีใครมาสำรวจเลย’)
2. เพื่อพิสูจน์ว่าการทำโพลออนไลน์นั้นน่าเชื่อถือได้ไม่น้อยกว่าการทำโพลแบบออกสำรวจได้หรือไม่ ด้วยการใช้ทรัพยากรที่ประหยัดกว่าได้

ในช่วงของการทำโพลระหว่างวันที่ 6 ก.พ. – 1 มี.ค. 2556 มีผู้เข้ามาตอบโพลจำนวนทั้งสิ้น 4,111 ราย และเป็นกลุ่มเป้าหมาย (ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง) จำนวนทั้งสิ้น 3,555 ราย ใช้วิธีการสำรวจแบบ Voluntary Response Sample แบบการใช้การเผยแพร่โพลออนไลน์ SurveyCan

จากการใช้การทำโพลในช่วงการเลือกตั้งผู้ว่ากทม. 2556 เป็นกรณีศึกษาพบว่าความคลาดเคลื่อนที่เกิดขึ้นมาจาก ปัจจัยดังต่อไปนี้

1. ผู้ที่เข้ามาตอบแบบสำรวจออนไลน์นั้นจะเป็นผู้ที่อาสา หรือเป็นแบบ Self-Select เข้ามาตอบ ทำให้เป็นผู้ที่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวอยู่มากกว่ากลุ่มประชากรทั้งหมด
2. กลุ่มประชากรที่ไม่สามารถเข้าถึงการสำรวจออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มอาชีพบางกลุ่ม เช่น กลุ่ม รับจ้าง/ใช้แรงงานทั่วไป แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ และกลุ่มว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ โดยจากผลสำรวจของ SurveyCan กลุ่มอาชีพดังกล่าวรวมแล้วคิดเป็นเพียง 9.17%
3. ถึงแม้ว่าการออกแบบคำถามนั้น ได้ใช้ข้อมูลการเทียบเคียงการกระจายตัวของกลุ่มประชากรได้ในระดับหนึ่ง โดยในส่วนนี้ SurveyCan ใช้การตั้งคำถามของการเลือกผู้สมัครเมื่อ 4 ปีที่แล้ว มาวัดการกระจายตัวของกลุ่มประชากรเทียบกับผลการเลือกตั้งจริง ซึ่งถือว่าได้ผลระดับหนึ่ง แต่เนื่องจากว่ากลุ่มประชากรในส่วนนี้มีการเปลี่ยนแปลง เช่นมีผู้สิทธิเลือกตั้งใหม่ครั้งแรก การย้ายถิ่นฐาน เป็นต้น ทำให้ เมื่อใช้การกระจายตัวเมื่อ 4 ปีที่แล้ว อาจไม่สามารถสะท้อนถึงกลุ่มในครั้งนี้ ได้อย่างแม่นยำ

อย่างไรก็ดี จากการทำกิจกรรมโพลเลือกตั้งผุ้ว่าในครั้งนี้ ทำให้เราพิสูจน์ได้ว่าการสำรวจออนไลน์นั้น สามารถลดต้นทุนในการออกสำรวจได้อย่างมากถึง 76.66% เช่นจากเดิมต้องใช้เงินประมาณ 30 บาทต่อหนึ่งรายการตอบกลับ จะลดเหลือเพียง 7 บาทเท่านั้น

การสำรวจออนไลน์ในประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริการเป็นเรื่องปกติที่ทำกันอย่างแพร่หลายและได้ผลเป็นอย่างมาก นั่นก็คงเป็นเพราะการเข้าถึงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของประชากรนั้นสูงมาก ซึ่งในปัจจุบันแนวโน้มของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ  การเข้าถึงเครือข่ายและระบบสารสนเทศจะเป็นเรื่องปกติในชีวิตประจำวันของคนส่วนใหญ่โดยเฉพาะคนที่ทำงานในเมือง SurveyCan มีความเชื่อมั่นว่าการได้มาซึ่งกลุ่มเป้าหมายในการสำรวจใด ๆ ก็ตาม จะได้ผลหากคำนึงถึงปัจจัยต่าง ๆ ที่ใช้ในการออกแบบแบบสำรวจและการใช้เทคนิคในการวิเคราะห์ได้อย่างเหมาะสม โดยเราสามารถลดต้นทุนการสำรวจได้อย่างมาก


ก.พ. 20

รายงานสรุปผลสำรวจครั้งที่ 2 กิจกรรมโพลผู้ว่า กทม. กับ SurveyCan

จากผลสำรวจประชากรในโลกออนไลน์ที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในครั้งนี้ ด้วยเครื่องมือ SurveyCan – ระบบบริหารจัดการแบบสอบถามและแบบฟอร์มออนไลน์ (http://www.surveycan.com) นั้น ปรากฎผลในช่วงสัปดาห์ก่อนโค้งสุดท้ายการเลือกตั้งดังต่อไปนี้

ข้อมูลการสำรวจระหว่างวันที่ 6 ก.พ. – 19 ก.พ. 2556
กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Sample) : 2,129 ราย
วิธีการสำรวจ: แบบ Voluntary Response Sample แบบการใช้การเผยแพร่โพลออนไลน์ SurveyCan

จากที่ทางทีมที่ปรึกษา SurveyCan ได้จัดทำสรุปผลในครั้งที่ 1 ไปเมื่อช่วงวันที่ 15 ก.พ. ที่ผ่านมาแล้วนั้น ทางเราขอนำเสนอมุมมองของผลโพลที่ต่างจากโพลอื่น ๆ ดังนี้

เมื่อพิจารณาจากเปอร์เซ็นต์ของการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยมของผู้สมัครจากสองพรรคการเมืองใหญ่นับจากการผลสำรวจในช่วงสัปดาห์แรก (6-12 ก.พ.) ผลปรากฎว่า

พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย มีคะแนนนิยมเพิ่มขึ้น จนถึง ณ วันที่ 19 ก.พ. นับจากการผลสำรวจในช่วงวันที่ 6-12 ก.พ. จำนวน 2.78 จุด เป็นอัตราที่เพิ่มขึ้นเฉลี่ยวันละ 0.40%

ส่วนผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร มีคะแนนนิยมที่ค่อนข้างคงที่นับจากการผลสำรวจในช่วงแรก ดังแสดงในกราฟเปรียบเทียบอัตราการเปลี่ยนแปลงคะแนนนิยม

เมื่อพิจารณาดูในเรื่องของฐานคะแนนเดิมเมื่อ 4 ปีที่แล้ว ผลปรากฎว่า

ร้อยละ 66.67 ของคนที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อ 4 ปีที่แล้ว จะยังคงเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร

ในขณะที่ ร้อยละ 95.87 ของคนที่เคยเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (นายยุรนันท์ ภมรมนตรี) จะยังคงเลือกผู้สมัครจากพรรคเพื่อไทย (พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ) อีกครั้งในครั้งนี้ และเป็นที่น่าสนใจว่าฐานคะแนนของ หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ผู้สมัครเลือกตั้งในคราวที่แล้วนั้นตกไปอยู่ที่ พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ อยู่ถึงร้อยละ 83.74

ส่วนฐานคะแนนของพรรคประชาธิปัตย์เดิม คิดเป็นร้อยละ 15.38 เปลี่ยนมาเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ

เมื่อพิจารณาดูว่าคะแนนนิยมในผลโพลครั้งนี้ของผู้สมัครสองพรรคใหญ่ มาจากฐานคะแนนเมื่อ 4 ปีที่แล้ว คิดเป็นร้อยละเท่าไหร่ ผลปรากฎว่า

สำหรับ ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คะแนนนิยมที่ได้ในครั้งนี้หากคิดเป็นร้อยละ จะประกอบด้วยคะแนนนิยมที่มาจากผู้ที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร อยู่ ร้อยละ 81.83 อีก ร้อยละ 14.16 มาจากผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิในคราวที่ผ่านมา ส่วนที่เหลือจะกระจายมาจากผู้ที่เคยเลือกผู้สมัครรายอื่นและจากการเลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน

ส่วน พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ผลสำรวจในครั้งนี้ คะแนนนิยมที่ได้จะประกอบด้วยคะแนนนิยมที่มาจากผู้ที่เคยเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี คิดเป็นร้อยละ 51.49 มาจากผู้ที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิในคราวที่แล้ว ร้อยละ 15.62 มาจากผู้ที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ร้อยละ 12.73 และมาจากผู้ที่เคยเลือก หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล ร้อยละ 9.93

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง:

อายุ

น้อยกว่า  20 ปี 4.60%
20–29 ปี 20.81%
30–39 ปี 21.89%
40–49 ปี 27.05%
50 ปี ขึ้นไป 25.65%

อาชีพ

ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 21.65%
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 28.42%
นักเรียนนักศึกษา 11.37%
พนักงานเอกชน 28.18%
แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ 4.37%
รับจ้าง/ใช้แรงงานทั่วไป 3.71%
ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 2.30%

 หมายเหตุ: กลุ่มตัวอย่างที่ได้ผ่านการตอบโพลออนไลน์นั้น อาจมีความสนใจในเรื่องของการเมืองเป็นพิเศษ เนื่องจากต้องอาสาเข้ามาตอบโพลเอง  ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จะขาดความเป็นตัวแทนของผู้ไม่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวมากนักแต่ก็อาจจะไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้อยู่จำนวนหนึ่ง

สามารถติดตามผลโพลในส่วนที่เหลือได้ที่ http://www.facebook.com/surveycan