ก.พ. 15

รายงานสรุปผลสำรวจครั้งที่ 1 กิจกรรมโพลผู้ว่า กทม. กับ SurveyCan

คนในโลกออนไลน์สะท้อนความคิดเห็นต่อการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. อย่างไร

ข้อมูลการสำรวจระหว่างวันที่ 6 ก.พ. – 13 ก.พ. 2556
จำนวนผู้ตอบโพล : 1,573 ราย
กลุ่มตัวอย่างผู้มีสิทธิเลือกตั้ง (Sample) : 1,356 ราย
วิธีการสำรวจ: แบบ Voluntary Response Sample แบบการใช้การเผยแพร่โพลออนไลน์ SurveyCan
อัตราการตอบกลับ: 30%

สรุปผลการสำรวจที่สำคัญ

จากการพิจารณาจากผู้ที่เคยไปใช้สิทธิเลือกตั้งเมื่อ 4 ปีที่แล้ว (พ.ศ. 2552) ว่าหากวันนี้เป็นวันเลือกตั้งคุณจะเลือกใครนั้น ผลปรากฎว่า

กลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร เมื่อ 4 ปีที่แล้ว ยังคงเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร ในครั้งนี้คิดเป็นร้อยละ 65.88 ในขณะที่ร้อยละ 15.43 ได้ระบุว่าจะหันมาเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ ร้อยละ 10.53 ได้ระบุว่าจะเลือกนายสุหฤท สยามวาลา และ ร้อยละ 4.54 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส

ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 95.56 จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก นายยุรนันท์ ภมรมนตรี เมื่อปี พ.ศ. 2552  และร้อยละ  82.14 จากกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือก หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่เคยเลือกผู้สมัครคนอื่น ๆ ในครั้งก่อน นอกเหนือจากที่ได้กล่าวมาแล้วนั้น ร้อยละ 35 ระบุว่าจะเลือก นายสุหฤท สยามวาลา ร้อยละ 33 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 14 จะเลือก พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียาเวส ส่วนที่เหลือจะกระจายให้กับผู้สมัครรายอื่น ๆ

กลุ่มตัวอย่างที่ในการเลือกตั้งคราวที่แล้วได้เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 59.09 จะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ และร้อยละ 13.64 จะเปลี่ยนมาเลือก นายสุหฤท สยามวาลา โดยร้อยละ 11.36% จะยังคงเลือก เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน ที่เหลือจะกระจายตัวไปให้ผู้สมัครรายอื่น ๆ

สำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เคยหรือไม่ได้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งในครั้งที่แล้ว ระบุว่าจะเลือก พล.ต.อ.พงศพัศ พงษ์เจริญ คิดเป็นร้อยละ 44.34 ระบุว่าจะเลือก ม.ร.ว.สุขุมพันธุ์ บริพัตร คิดเป็นร้อยละ 29.86 และระบุว่าจะเลือกนายสุหฤท สยามวาลา  คิดเป็นร้อยละ 13.57

คำถาม: คุณคิดว่าจะไปใช้สิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในวันที่ 3 มีนาคม นี้หรือไม่?

ไป 98.08%
ไม่ไป 0.59%
ไม่ทราบ 1.33%

คำถาม: คุณได้ตัดสินใจแล้วหรือไม่ ว่าในวันที่ 3 มีนาคม 2556 คุณจะไปเลือกใคร

ตัดสินใจแล้ว 94.76%
ไม่ทราบ 0.44%
ยังไม่ตัดสินใจ 4.79%

เป็นที่น่าสนใจว่าการทำโพลแบบ Self-Select คือให้คนมาตอบโพลอาสาเข้ามาตอบโพลได้เองนั้น จะได้กลุ่มผู้ที่มาตอบที่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวอยู่แล้ว เช่นมากกว่า 90% ได้ตัดสินใจว่าจะเลือกใคร และมีความแน่ใจว่าจะไปเลือกตั้ง ซึ่งผลที่ได้ตรงนี้จะมีความแตกต่างจากโพลที่ทำแบบ Probability Sampling อยู่มาก ดังนั้นกลุ่มตัวอย่างที่ได้จะขาดความเป็นตัวแทนของผู้ไม่มีความสนใจในเรื่องดังกล่าวแต่ก็อาจจะไปใช้สิทธิในวันเลือกตั้งได้อยู่จำนวนหนึ่ง

ลักษณะทั่วไปของกลุ่มตัวอย่าง:

อายุ

อายุน้อยกว่า 20 ปี: 5.09%
20–29 ปี: 21.39%
30–39 ปี: 22.42%
40-49 ปี: 25.74%
50 ปีขึ้นไป: 25.37%

อาชีพ

ข้าราชการ/พนักงานรัฐวิสาหกิจ 19.54%
ค้าขาย/ธุรกิจส่วนตัว 29.42%
นักเรียนนักศึกษา 12.09%
พนักงานเอกชน 28.76%
แม่บ้าน/พ่อบ้าน/เกษียณอายุ 4.42%
รับจ้าง/ใช้แรงงานทั่วไป 3.24%
ว่างงาน/ไม่ได้ประกอบอาชีพ 2.51%

ข้อมูลประกอบในการพิจารณากลุ่มตัวอย่าง:

คำถาม เมื่อ 4 ปีที่แล้ว คุณได้ลงคะแนนให้กับใคร?

หม่อมราชวงศ์สุขุมพันธุ์ บริพัตร 48.55%
นายยุรนันท์ ภมรมนตรี 29.78%
หม่อมหลวงณัฏฐกรณ์ เทวกุล 7.40%
นายแก้วสรร อติโพธิ 1.67%
ไม่ทราบ 2.20%
เลือกช่องไม่ประสงค์ลงคะแนน 3.88%
อื่น ๆ 6.52%

และเมื่อเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งจริงในปี 2552

จะเห็นได้ว่ากลุ่มตัวอย่างที่ได้มีความสอดคล้องกับผลการเลือกตั้งปี 2552

แหล่งที่มาของการเข้ามาตอบโพล

Google (จากการค้นหาด้วยคำค้น) 44%
Facebook (โฆษณาแบบสุ่ม/การแบ่งปัน) 38%
Others(อีเมล/Blog/เข้าจากลิงค์โดยตรง) 18%

ถามว่าแล้วใครจะชนะการเลือกตั้ง? ทางทีมงาน SurveyCan ขอจัดทำสรุปให้ทราบในโอกาสต่อไป เนื่องจาก ณ ปัจจุบันการทำโพลได้ถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมากว่าจะเป็นการชี้นำหรือไม่ ทางเราจึงขอสรุปในแง่มุมที่คาดว่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้สมัครรับเลือกตั้ง และเป็นข้อมูลประกอบสำหรับสาธารณชนได้พิจารณาโดยขอหลีกเลี่ยงที่จะแสดงเพียงตัวเลขว่าผู้ใดเป็นผู้นำ ผู้ตาม ร้อยละเท่าไหร่ ต้องขออภัยมา ณ ที่นี้ด้วย

หากมีข้อสงสัยประการใดกับผลสรุปโพล สามารถสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ support@surveycan.com


ก.พ. 12

ไขข้อสงสัยกับกิจกรรมออนไลน์โพลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม.

กิจกรรมของ SurveyCan กับโพลผู้ว่า กทม. ทำให้เปิดโอกาสให้กับหลายคนที่เคยมีคำถามว่า ‘ตั้งแต่เกิดมาไม่เคยได้มีส่วนร่วมกับโพลที่สำคัญ ๆ เลย’ สามารถเข้ามาร่วมสะท้อนเสียงได้บ้างแล้ว

แต่แน่นอนว่าการสำรวจแบบออนไลน์ นั้นต่างจากการสำรวจที่ออกไปนอกสถานที่คอยสัมภาษณ์ผู้คนอยู่ค่อนข้างมาก ดังนั้นการออกแบบโพลและการวิเคราะห์ผลจะต้องมีขั้นตอนที่ต่างออกไปบ้างพอสมควร

‘เมื่อให้การตอบขึ้นอยู่กับตัวผู้ตอบเอง จะแน่ใจได้อย่างไรว่าคำตอบที่ได้รับมาน่าเชื่อถือได้?’ 

ข้อดีอย่างหนึ่งของการตอบด้วยตนเองแบบออนไลน์คือ ผู้ตอบมีความรู้สึกเป็นตัวของตัวเองมากกว่า หากเป็นคำถามที่ไม่อยากเปิดเผย ผู้ตอบอาจจะไม่บอกความจริงกับผู้ที่มาสัมภาษณ์ก็เป็นได้ แต่ก็อาจมีกรณีที่ผู้ที่มาตอบไม่ตั้งใจเข้ามาตอบตามความเป็นจริงได้เช่นกัน   การออกแบบสอบถามสำหรับกรณีนี้ เพื่อให้สามารถคัดกรองคำตอบที่ไม่ Valid มากที่สุดออกไปจากการวิเคราะห์ได้ ก็คือการตั้งคำถามที่ถามเพื่อให้สามารถเช็คคำตอบที่ไม่สอดคล้องได้ เช่นถามคำถามที่เกี่ยวเนื่องกัน 2 ครั้งเป็นต้น หากคำตอบจากคำถามดังกล่าวไม่สอดคล้องกันอาจจะแสดงได้ว่าผู้ตอบไม่ตอบตามความเป็นจริงได้ หรือตอบ ‘มั่วๆ’ ได้ และสามารถคัดกรองออกจากการวิเคราะห์ผลได้ เพื่อให้ได้ความคลาดเคลื่อนที่ลดลง

‘แล้วในกรณีที่ผู้ตอบ ‘โกง’ โดยการกรอกซ้ำๆ กันหลายครั้ง จะเกิดขึ้นได้หรือไม่?’

แน่นอนว่าโพลการเลือกตั้งต่าง ๆ หากไม่สามารถคุมจำนวนครั้งการตอบกลับต่อคนได้ ก็จะมีการสร้างผลโพลขึ้นมาเองได้ โดยการกรอกซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง การทำแบบออนไลน์นั้นจะไม่สามารถคุมด้วยคนหรือการเลือกกลุ่มได้เอง แต่ก็สามารถคุมได้ด้วยระบบ ตัวอย่างในกรณีโพลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในครั้งนี้ SurveyCan ได้กำหนดให้ผู้ตอบสามารถตอบได้จากเครื่องคอมพิวเตอร์เพียง 1 เครื่องเท่านั้น และยังสามารถวิเคราะห์เพิ่มเติมได้จาก IP อีกทั้งสามารถใช้พฤติกรรมในการตอบมาช่วยวิเคราะห์ว่าเป็นการกรอกครั้งแรก (มีการอ่านด้วย) หรือเป็นการกรอกครั้งถัด ๆ ไป หรือเป็นการกรอกด้วยซอฟต์แวร์หรือไม่ เช่นดูจากระยะเวลาที่ใช้ในการตอบแต่ละครั้ง เป็นต้น

‘แล้วจะได้กลุ่มเป้าหมายได้อย่างไร หากมีแต่ผู้ตอบที่มีแต่สิทธิเข้าถึง Internet เข้ามาตอบได้เท่านั้น’

จากข้อมูลจากสำนักงานสถิติแห่งชาติ คนกรุงเทพในทุกกลุ่มอายุนั้นใช้อินเตอร์เน็ตคิดเป็นร้อยละ 44.4 (และแน่นอนว่าจะลดหลั่นตามช่วงอายุที่เพิ่มขึ้น)  ซึ่งแน่นอนว่าเป็นข้อกำจัดในการสำรวจแบบออนไลน์ ที่ไม่สามารถใช้การสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น หรือ  Probability Sampling ได้ ซึ่งก็เหมือนในกรณีของการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญหรือตามความสะดวก (Convenience Sampling) ซึ่งบางโพลใช้วิธีนี้อยู่ เช่นการสัมภาษณ์ ตามสถานที่ต่าง ๆ เป็นต้น ขาดความเป็นตัวแทนของกลุ่มคนบางกลุ่ม ซึ่งก็คล้ายคลึงกับกรณีการสำรวจออนไลน์คือผลสำรวจจะขาดความเป็นตัวแทนของคนที่ไม่ได้ใช้อินเตอร์เน็ต  ซึ่งตรงนี้เราต้องยอมรับ Coverage Error ที่จะเกิดขึ้น และจะได้รายงานในผลสรุปต่อไป

‘การที่ให้ผู้ตอบเป็นผู้อาสาเข้ามาตอบแบบสำรวจโดยไม่มีการควบคุมการเลือกกลุ่มเป้าหมายจะได้ผลที่เอนเอียงไปในทางใดทางหนึ่งได้หรือไม่’

การทำแบบสำรวจออนไลน์เรียกได้ว่าเป็นการเลือกกลุ่มแบบ Voluntary Response Sample หมายความว่าจะเป็น กลุ่มคนที่อาสา (voluntarily) หรือเป็นผู้เลือก (self-select) เข้ามาทำแบบโพลเอง บ่อยครั้งที่จะเป็นผู้ที่มีความสนใจในหัวข้อที่ทำการสำรวจอยู่มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้เลือกเข้ามาตอบโพล จะมีความเป็นไปได้สูงที่จะได้กลุ่มคนที่มีความสนใจเฉพาะ ทำให้ได้กลุ่มตัวอย่างที่สนับสนุนบุคคลใดบุคคลหนึ่งในผลโพลเองได้ ในกรณี้จะต้องทำการปรับค่าถ่วงน้ำหนักด้วยการแบ่งข้อมูลออกเป็นชั้นภูมิ หรือ Post-stratification หลังจากได้รับการตอบกลับอีกที เช่นใช้การ Weight บางข้อคำถามสำหรับที่ได้ผู้มาตอบมากเกินไป หรือน้อยเกินไปได้ เพื่อให้ได้ตามกลุ่มตัวอย่างกระจายตัวสอดคล้องตามกลุ่มประชากรเป้าหมาย

SurveyCan ขอยืนยันในความตรงไปตรงมา ยึดตามหลักวิชาการ ไม่เป็นเครื่องมือให้กับฝ่ายใด ๆ แน่นอน

ทีมที่ปรึกษาของ SurveyCan ได้พยายามออกแบบโพลให้ลดข้อจำกัดข้างต้นให้ได้มากที่สุด ผลโพลที่ได้ออกมาจะน่าเชื่อถือหรือไม่อย่างไร เราคงต้องรอพิสูจน์ภายหลังวันที่ 3 มีนาคม ไปแล้วเท่านั้น แต่ ณ ตอนนี้สิ่งที่เราทำได้คือเราจะวิเคราะห์ผลตามหลักการเชิงวิชาการ ตรงไปตรงมา พร้อมที่มาที่ไปของเหตุผลที่ใช้ประกอบผลของเรา เพื่อเผยแพร่ให้ทุกท่านทราบต่อไป

หากท่านใดที่มีสิทธิเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในวันที่ 3 มีนาคมนี้ สนใจมีส่วนร่วมในกิจกรรม SurveyCan Poll กับการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. แล้ว สามารถเชิญได้ที่ https://www.surveycan.com/survey107212


ก.พ. 08

ทำไม SurveyCan ถึงริเริ่มโครงการโพลการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ในครั้งนี้

โพลคืออะไร? การทำโพลก็คือการหยั่งเสียงหรือการสำรวจประชามติ (Public Opinion Survey) โดยการอาศัยหลักของการสุ่มเลือกตัวอย่างทดสอบตัวอย่างจากคนจำนวนน้อย เพื่อให้ได้ข้อมูลอันเป็นตัวแทนเกี่ยวกับคนส่วนมาก วัตถุประสงค์หลักของการทำการหยั่งเสียงแบบ public opinion นี้ก็คือการหยั่งเสียงจากกลุ่มตัวอย่าง (targeted sample) จากกลุ่มประชากร

หลายครั้งเวลามีการรายงานโพล ก็คงเคยตั้งคำถามกันว่า ‘ทำไมเราถึงไม่เคยถูกสำรวจเลย’

จำนวนประชากรในประเทศไทยอายุ 15 ปีขึ้นไปมีทั้งหมดประมาณ 54 ล้านคน แต่ละโพลจะมีจำนวนผู้ตอบเฉลี่ยประมาณ 1500  คน สมมติว่าในปีหนึ่ง ๆ มีการทำโพลระดับชาติอยู่ 300 ครั้ง จะมีคนได้เข้าร่วมตอบทั้งสิ้น 450,000 คนต่อปี และถ้าคิดว่าการสำรวจในแต่ละครั้งจะไม่สำรวจซ้ำคนกันเลยในช่วงปีๆ หนึ่ง โอกาสที่คุณจะได้เข้าร่วมสำรวจต่อปีจะอยู่ที่ประมาณ 1 ใน 100 เท่านั้นเอง

แล้วทำไมไม่ให้เสียงของคุณได้มีส่วนในโพลด้วย?

SurveyCan ได้จัดโครงการการทำโพลเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ปี พ.ศ. 2556 ขึ้นมาเพื่อเปิดโอกาสให้คนกรุงเทพที่มีความสนใจทางการเมืองเข้ามามีส่วนร่วมในการทำโพล สะท้อนเสียงของคุณเองได้ โดยไม่ต้องรอให้มีคนมาสำรวจทำโพลอีกต่อไป

จากที่เคยถามกันว่าการสุ่มกลุ่มตัวอย่างนั้น สามารถใช้เป็นตัวแทนประชากรทั้งหมดได้หรือไม่ SurveyCan มีกระบวนการที่จะวิเคราะห์สรุปผลจากกลุ่มตัวอย่างที่จะใช้เป็นตัวแทนกลุ่มประชากรในครั้งนี้ นั่นคือ จากผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งผู้ว่ากทม. ในวันที่ 3 มีนาคม 2556 ดังนั้นเพื่อให้ความคิดเห็นของคุณได้สะท้อนในการสำรวจครั้งนี้ คุณมีสิทธิ์เลือกที่จะมีส่วนร่วมในกระบวนการนี้แล้ว เพื่อเราจะได้ผลที่สะท้อนความเป็นจริงได้มากที่สุด  ไม่เป็นการเข้าข้างใดข้างหนึ่ง เป็นไปตามหลักวิชาการ ทางเราจะเผยแพร่ผลโพลเป็นระยะ ๆ ต่อไปใน http://blog.surveycan.com และที่ Facebook fan page ที่ http://www.facebook.com/surveycan

อีกเหตุผลหนึ่งที่เป็นแรงดลใจให้ SurveyCan ริเริ่มโครงการนี้คือ ความท้าทายในการพิสูจน์ว่าการทำสำรวจแบบออนไลน์นั้น ก็มีความน่าเชื่อถือ ไม่ต่างจากการทำแบบสำรวจด้วยวิธีทั่วไป และแน่นอนด้วยสมมติฐานที่ว่าการออกแบบแบบสอบถาม และการวิเคราะห์ผลต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ ซึ่งเราก็จะได้เผยแพร่กระบวนการที่เราใช้เพื่อเป็นกรณีศึกษาต่อไปด้วย

ถึงแม้ว่าการทำโพลไม่อาจที่จะถูกต้องได้ 100% แต่นี่ก็เป็นวิธีหนึ่งที่จะได้หยั่งเสียงความนิยม และเป็นการให้ผู้ที่ยังไม่มีสิทธิหรือไม่ไปเลือกตั้งได้มีส่วนร่วมในกระบวนการการเลือกตั้งทางอ้อมได้ด้วย

คุณสามารถเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมครั้งนี้ได้ที่ https://www.surveycan.com/survey107212 หรือสามารถเยี่ยมชมเว็บไซต์เพื่อเรียนรู้การนำแบบสำรวจออนไลน์มาใช้กับกิจกรรมของคุณได้ที่ http://www.surveycan.com/


ธ.ค. 25

เรามาดูความแตกต่างระหว่าง Check Box กับ Radio Button

เรามาดูความแตกต่างระหว่าง Check Box กับ Radio Button Radio Button1

Radio Button

Check Box1Check Box

ผมสังเกตุเห็นแบบสอบถามหลายๆท่านเรื่องการเลือกใช้ระหว่าง Check Box กับ Radio Button เลือกใช้ผิดและได้รับข้อมูลผิดพลาดนะครับ เรามาติดตามความหมายของปุ่มทั้ง 2 แบบกันครับ หลายท่านมีความเข้าใจผิดระหว่าง Check Box กับ Radio Button แน่นอนในการสร้างแบบสอบถามปุ่มที่ใช้คำถามบังคับให้ผู้ตอบเลือกตอบได้แค่ 1 คำตอบ ก็คือ Radio Button Radio Button ตัวอย่างเช่น เพศ ชาย หญิง เพศที่ 3 โปรดระบุ ……… ผู้ตอบสามารถเลือกได้เพียง 1 คำตอบเท่านั้น ส่วน ปุ่ม Check Box จะตรงกันข้ามกับ Radio Button Check Box คือกล่องตัวเลือกแบบหลายตัวเลือกสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือก Check Box เป็นการสร้างตัวเลือกแบบหลายตัวเลือก และสามารถเลือกได้มากกว่า 1 ตัวเลือกขึ้นไป และถ้าคลิกเลือกซ้ำที่เดิม จะเป็นการยกเลิกการเลือกข้อ ๆ นั้น เหมาะที่นำไปใช้ในคำถามที่สามารถตอบได้หลายคำตอบ Check Box ตัวอย่างเช่น ปัญหาที่ท่านพบในการเลือกซื้อและการสวมใส่ชุดว่ายน้ำของท่านมีอะไรบ้าง (ตอบได้มากกว่า 1 ข้อ) ชุดไม่ช่วยอำพรางสัดส่วน หาซื้อยาก มีแบบและลวดลายให้เลือกน้อย แบบและลวดลายไม่สวยตามต้องการ ราคาสูง ขนาดใหญ่กว่าตัว ขนาดเล็กกว่าตัว ไม่มั่นใจในรูปร่างเมื่อสวมใส่ อื่นๆ โปรดระบุ ……… ท้ายสุด หลายๆท่านคงจะได้ทราบถึงข้อแตกต่างของปุ่มทั้ง 2 แบบนี้แล้วนะครับ ฝากไว้ให้ทุกท่านเลือกใช้ได้ตรงกับคำถามและคำตอบนะครับเพื่อผลของข้อมูลของท่านจะได้ไม่ผิด

ท่านสามารถศึกษาเพิ่มเติมที่ YouTube ด้านล่างได้เลยครับ

ความแตกต่างระหว่าง Check Box กับ Radio Button

ท่านสามารถใช้ SurveyCan สร้างแบบสอบถามออนไลน์ได้ด้วยตนเอง หรือ สามารถใช้บริการจากทางเราในการสร้างและวิเคราะห์ผลได้เบ็ดเสร็จ หากท่านคิดว่า SurveyCan จะมีส่วนช่วยท่านและหน่วยงานของท่าน สามารถติดต่อมาได้ที่ support@surveycan.com หรือ โทร. 02-583-9992 # 1516 เพื่อสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ หรือเริ่มใช้ได้ด้วยตนเองที่ http://www.surveycan.com/

บริษัท ลิทเทิล บิ๊ก ลิ้งค์ส จำกัด
99/31 ม.4 อาคารซอฟแวร์ปาร์ค ชั้น 5 ต.ปากเกร็ด อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี 11120


ธ.ค. 21

SurveyCan กับมาตรฐานการรักษาความปลอดภัยข้อมูลด้วย SSL (https://)

 

SSL Survey, SecureSSL หรือ https:// สังเกตุง่าย ๆ จะมี ตัว S ที่ต่อท้ายตรงลิงค์ของเว็บไซต์ ซึ่งมีความหมายว่า ‘Secure’ หรือ ก็คือ ปลอดภัย สำหรับการรับส่งข้อมูลบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต เช่นการกรอกฟอร์ม การสั่งซื้อของ ใน website ที่เป็น https

SurveyCan ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการรักษาความปลอดภัยของข้อมูลที่รับส่งบนเว็บไซต์ SurveyCan เราจึงได้ติดตั้งระบบ Secure Sockets Layer (SSL) ซึ่งหมายถึงการใช้ระบบรักษาความปลอดภัย การเข้ารหัสข้อมูลระหว่างการรับและส่งข้อมูล เพื่อไม่ให้ผู้ใดสามารถดักจับข้อมูลใดๆ ระหว่างการรับส่งข้อมูลได้เลย เทคโนโลยีรักษาความปลอดภัย SSL เป็นมาตรฐานการป้องกันการดักจับข้อมูล และความปลอดภัยอื่นๆ อีกมากมาย โดยรวมคือการเข้ารหัสข้อมูล ณ ต้นทางก่อนที่จะส่ง และการถอดรหัสข้อมูลที่ปลายทาง หลังจากได้รับข้อมูลจากต้นทาง เพราะฉะนั้น ผู้ที่ดักจับข้อมูลไม่สามารถรู้ได้เลยว่าข้อมูลที่รับส่งกันนั้นคืออะไร

ผู้ใช้งาน SurveyCan ของเราสบายใจได้นะคะ ว่าข้อมูลที่รับส่งผ่าน SurveyCan จะมีความปลอดภัยในระดับสูงตามมาตรฐานสากล ปลอดภัยจากการดักจับข้อมูลได้อย่างแน่นอนค่ะ ไม่ว่าจะเป็นขั้นตอนในการกรอกแบบสอบถาม/แบบฟอร์ม หรือการรายงานผลการตอบกลับก็ตาม